สว. มิใช่ สส.จะเลือกยังงัยถึงจะถูกต้อง ระบบรัฐสภาของไทยแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือสภาสูงหรื วุฒิสภา(สว.).แบ่งเป็น สว.ระบบแต่งตั้ง(โดยแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถในสหวิทยาการและสาขาวิชาชีพ) ระบบเลือกตั้ง(ได้มาจากการเลือกตั้งโดยใช้เขตจังหวัด) และสภาล่างหรือ สภาผู้แทนราษฏร( สส. )ระบบสองสภานี้ออกแบบมาเพื่อเป็นการคานอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อมิให้อำนาจนิติบัญญัตอย่างไร้ขอบเขต และเป็นการตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติไปในตัว

 

เนื่องจากการใช้ระบบหยั่งเสียง(VOTE) ในสภาผู้แทนราษฎรเป็นการใช้เสียงข้างมากมติจากการหยั่งเสียงอาจมาจากมติพรรคซึ่งอาจไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด จึงมีการให้อำนาจในการขัดกรองและมีสิทธิ์ยับยั้งหรือรับรองมติหรือกฏหมายนั้นๆ หน้าที่ที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือของสว.คือการเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตรวจสอบและเสนอถอดถอน สส.รวมไปถึงการแต่งตั้งบุคคลเพื่อเข้ารับตำแหน่งในองค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญ อาทิ กกต. ,ปปช. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ

ดังนั้นสว.จะต้องไม่ควรมีความเกี่ยวข้องทางการเมืองกับพรรคการเมืองหรือนักการเมืองคนหนึ่งคนได ไม่เป็นคู่สมรสหรือเป็นญาติซึ่งสืบสายเลือดกับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร/ผู้ลงสมัคร ทั้งนี้เพื่อป้องกันให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยไม่นำเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องและป้องกันการสืบทอดอำนาจของกลุ่มการเมืองและตัวของ สว.เอง การคัดสรรบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ สว.ที่มีความรู้ความสามารถจากสหวิชาการ เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถครอบคลุมสาขาอาชีพ และเป็นการได้ผู้มีความรู้ตรงสาขาซึ่งสามารถให้ความรู้และชี้แจงในคุณลักษณะของวิชาชีพหรือสหวิชานั้นๆได้ ก่อนการรับรองหรือยับยั้งกฎหมาย

 

ดังนั้นการเลือก สว.ที่ถูกต้องควรมีหลักบางประการเหล่านี้ 1.เป็นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองและนักการเมืองไดๆทั้งสิ้น 2.เป็นผู้มีความรู้ความสามารถซึ่งสามารถอ่านกฎหมายและตีความกฎหมายได้ 3.มีความรู้ความสามารถเชียวชาญในวิชาชีพสาขาไดสาขาหนึ่งอย่างแท้จริง ** เหตุไดการเลือกตั้ง สว.จริงห้ามมิให้มีการหาเสียง เนื่องจาก สว.จะต้องใช้ความรู้ความสามารถในการคัดกรองกฏหมายและมีอำนาจในการแต่งตั้งถอดถอนองค์กรอิสรัในรัฐธรรมนูญ สว.ไม่สามารถกำหนดนโยบายและวางแผนการใช้งบประมาณแผ่นดินโดยตรง และไม่มีหน้าที่ในการดูแลท้องที่อย่าง สส. การหาเสียงหรือเสนอนโยบายจึงไม่เป็นประโยชน์ และอาจเป็นการบิดเบือนในหน้าที่ของ สว. ทั้งหมดก็แล้วแต่คุณว่าจะเลือคนอย่างไรมาปฏิบัติหน้าที่ “อำนาจทั้งหมดอยู่ในมือของคุณเลือกให้ดีก่อนที่จะยกอำนาจนั้นให้ใคร”

 

{youtube}IaEpaqJvHE4{/youtube}

 

ขอบคุณบทความดีๆจาก Kradong

 

 
Go to top